เกี่ยวกับ อบต.
ประวัติความเป็นมาองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยน เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒๕ หมู่ที่ ๕ ตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากอำเภอเมืองกาญจนบุรีประมาณ ๒๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ประมาณ ๘๗.๕๒ ตารางกิโลเมตร หรือ ๕๔,๗๐๐ ไร่ องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยนได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลและมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติสภา-ตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๓๘ โดยมีนายธัญญา ดารา-พิสัยสุข เป็นประธานกรรมการบริหาร (โดยตำแหน่ง) คนแรก และได้เปลี่ยนเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล มีนายสังวรณ์ เขาถ้ำทอง เป็นนายกฯ คนแรก
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/E/006/1.PDF http://www.uttaraditlocal.go.th/system_files/257/3981c0e2558bafff6038c7a1f9493081.PDF
|
วิสัยทัศน์และพันธกิจวิสัยทัศน์ “ ตำบลน่าอยู่ มุ่งสู่เทคโนโลยี การศึกษาดี มีคุณธรรม นำพัฒนาอย่างยั่งยืน ” พันธกิจ ๑. จัดบริการขั้นพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ อย่างเพียงพอและทั่วถึงโดยควบคุมให้สอดคล้องกับระบบผังเมืองรวมและมีความพร้อมในการรองรับการขยายตัวของชุมชน ๒. พัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยนให้เป็นเมืองน่าอยู่ มีสภาพภูมิทัศน์สวยงาม มีความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ปราศจากมลภาวะ ๓.องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยน มีระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีขีดความสามารถในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนได้ตรงความต้องการของประชาชน โดยเสริมสร้างเครือข่ายการประสานงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งแสวงหาแหล่งรายได้ใหม่ เพื่อนำมาพัฒนาท้องถิ่น ๔. ประชาชนได้รับการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างมีคุณภาพและมีมาตรฐาน เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่นและการเรียนรู้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น สามารถปรับตัวสภาพการที่เปลี่ยนแปลงไปและดำรงตนในสังคมได้อย่างทั่วถึง ๕. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอาชีพ รายได้ มีความมั่นคงทางสังคม มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีสุขอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดี ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บและยาเสพติด ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างทั่วถึง ๖. พัฒนาชุมชนภายในองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยนให้เป็นชุมชนเข้มแข็ง มีจิตสำนึกมีศักยภาพในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ สามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ๗. ประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักการเมือง ผู้นำท้องถิ่น ตระหนักถึงภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีคุณภาพ คุณธรรม โปร่งใส และยุติธรรม ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งทุกระดับ ๘. ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจของท้องถิ่น ๙. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยน โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีความตระหนักและมีจิตสำนึกที่ดีในการป้องกันและรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สวยงามยั่งยืน จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา ๑. ประชาชนมีการพัฒนาความรู้คู่คุณธรรมมีความเข้มแข็งทั้งทางร่างกายและจิตใจ ๒.การดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันแก้ไขปัญหาชุมชน ๓. ส่งเสริมการดำเนินชีวิตวิถีเศรษฐกิพอเพียง การลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในครอบครัว ๔.ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ มีจิตสำนึกในการรักษาและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ๕. การบริการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ คนพิการเป็นไปอย่างทั่วถึง ๖. การบริหารงานแบบธรรมาภิบาล มีความถูกต้องและเป็นธรรม ๗. ประชาชนเข้าใจบทบาทหน้าที่และมีส่วนร่วมในการบริหารงาน ๘. ประชาชนมีน้ำสะอาดเพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภค ๙. การขนส่งผลผลิตหรือสินค้าทางการเกษตรสู่ตลาดได้โดยสะดวก ๑๐. การติดต่อสื่อสาร สัญจรไปมาของประชาชน ได้รับความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย ๑๑. ส่งเสริมการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ๑๒. ส่งเสริมด้านการศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ๑๓. การบริการด้านส่งเสริมสุขภาพประชาชนมีประสิทธิภาพ ๑๔. ชุมชนมีสภาพเป็นเมืองน่าอยู่ |
|
สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศลักษณะที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยน เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒๕ หมู่ที่ ๕ ตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากอำเภอเมืองกาญจนบุรีประมาณ ๒๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ประมาณ ๘๗.๕๒ ตารางกิโลเมตร หรือ ๕๔,๗๐๐ ไร่ องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยนได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลและมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติสภา-ตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๓๘ โดยมีนายธัญญา ดารา-พิสัยสุข เป็นประธานกรรมการบริหาร (โดยตำแหน่ง) คนแรก และได้เปลี่ยนเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล มีนายสังวรณ์ เขาถ้ำทอง เป็นนายกฯ คนแรก อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ภูมิประเทศ สภาพโดยทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง เป็นดินลูกรังและดินปนทราย |
การเมืองการปกครององค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยน เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒๕ หมู่ที่ ๕ ตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากอำเภอเมืองกาญจนบุรีประมาณ ๒๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ ประมาณ ๘๗.๕๒ ตารางกิโลเมตร หรือ ๕๔,๗๐๐ ไร่ องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยนได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลและมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติสภา-ตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๓๘ โดยมีนายธัญญา ดาราพิสัยสุข เป็นประธานกรรมการบริหาร (โดยตำแหน่ง) คนแรก และได้เปลี่ยนเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล มีนายสังวรณ์ เขาถ้ำทอง เป็นนายกฯ คนแรก |
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมการเกษตร ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยน ประกอบอาชีพปลูกพืชผัก พืชไร่ และเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ไก่ หมู แพะ และรับจ้าง หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล - ปั๊มน้ำมัน จำนวน ๑ แห่ง - โรงสี จำนวน ๑ แห่ง - ฟาร์มเลี้ยงไก่ จำนวน ๔ แห่ง |
สภาพทางการศึกษาการศึกษา มีสถานศึกษาในสังกัด สพฐ. จำนวน ๑ แห่ง
มีศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ จำนวน ๑ แห่ง
โครงการแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่เพื่อพัฒนาเด็กประฐมวัย ประจำปีงบประมาณ 2558 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดถ้ำขุนไกร ตำบลแก่งเสี้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้เด็กประฐมวัยได้เรียนรู้กับประสบการณ์จริง 2.เพื่อให้เด็กประฐมวัยได้มีพัฒนาการด้านต่างๆ ดีขึ้น 3.เพื่อให้เด็กประฐมวัยได้เรียนรู้ตามธรรมชาติ 4.เพื่อส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันครอบครัว องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยน ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาเด็กประฐมวัยจึงได้จัดทำ โครงการแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่เพื่อพัฒนาเด็กประฐมวัย ประจำปีงบประมาณ 2558 ขึ้น บึงฉวาก
ฟาร์มจระเข้สามพราน
หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย
ศาสนาและวัฒนธรรม
ประวัติขุนไกรตามตำนานประวัติโดยย่อ ขุนไกรพ่อขุนแผนกล่าวว่า บิดามารดา รวมทั้งตัวนายไกร เป็นคนที่มีถิ่นกำเนิด เขาชนไก่ นายไกรรุ่นหนุ่ม ชอบผจญภัย (เขาเรียกว่าพราน) ความรู้เรื่องคาถาอาคมก็พอ ประมาณเพราะเรียนมาบ้างจากหลวงตาบุญ เจ้าอาวาสวัดส้มใหญ่ วันหนึ่งนายไกรออกล่าสัตว์อย่างเช่นเคยได้ผ่านมาทางวัดเขาถ้ำ เกิดฝน ศาลพ่อขุนไกร
ตกหนักมาก จึงหลบฝนเข้าไปในถ้ำ ก็พบพระธุดงค์องค์หนึ่งที่อยู่ในถ้ำ และเมื่อได้คุยและชอบอุปนิสัยกันดี อาจารย์คง สอนคาถาอาคมในถ้ำนี้ จนนายไกรเก่งกล้า ภายหลังจึงทราบว่าเป็นเจ้าอาวาสวัดแค สุพรรณบุรี นั่นเอง ประวัติการสร้างวัดเริ่มแรกประมาณ พ.ศ.2478 –2488 ที่วัดแห่งนี้ชาวบ้านเรียกกันว่าเขาถ้ำ ซึ่งในถ้ำมีพระศิลาแลงซึ่งไม่รู้ว่าใครเป็นผู้สร้างไว้ แต่ในวันเพ็ญกลางเดือนหกชาวบ้านจากหนองขาว จะต้องนำพระมาทำบุญตักบาตรทุกปี นานมาถูกปล่อยรกร้าง
ต่อมา นายฉิ่ง จิตรสูง นายแฉ่ง จิตรสูง และนายสงกรานต์เพิกเฉย เป็นชาวบ้านหนองขาว เห็นสถานที่รกร้างจึงเข้ามาบูรณะและสร้างโรงเล็กๆขึ้นสองหลังมุงด้วยแฝกได้นิมนต์พระอาจารย์ ง้วน จากวัดเขาเม็ง มาพำนัก อยู่ได้ 2 พรรษาก็มรณภาพไป จนกระทั่งปี 2503 มีพระอาจารย์จื้อ เป็นคนทุ่งสมอไปบวชอยู่ทางสระบุรี เกิดนิมิตเห็นถ้ำทางทิศตะวันตกมีพระศิลาแลงอันศักดิ์สิทธิอยู่จึงได้ธุดงค์มาดูเห็นว่าเป็นความจริงจึงได้จำพรรษาอยู่เรื่อยมา นายฉิ่งและนายหว่องได้ดำเนินการขอให้เป็นวัดขึ้นเมิ่อ พ.ศ.2506 ชื่อวัดเขาถ้ำ ต่อมา นายชำนิ จิตรสูง ผู้ใหญ่บ้าน ได้ร่วมกับพระอาจารย์จื้อจัดตั้งและเปลี่ยนชื่อเป็นวัดถ้ำขุนไกรขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.2528 ปัจจุบันมีพระครูปริยัติวชิรกาญน์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดถ้ำขุนไกร สถานที่เชิงอนุรักษ์มีถ้ำจำนวนมาก มีทั้งถ้ำขนาดเล็กเรียกว่า ถ้ำเล็กและถ้ำใหญ่ซึ่งอยู่สูงขึ้นไป ซึ่งมีบันได 527 ขี้น วัตถุโบราณ ต่าง ๆ พระศิลาแลง คนโฑน้ำ มีบันไดขึ้นถ้ำชมทิวทัศสวยงาม ตามธรรมชาติ
ศาลพ่อปู่เสือและที่สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ เช่นศาลพ่อปู่เสือ ที่มีอายุเก่าแก่
|
การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติการคมนาคม การจราจร การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอ และจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในตำบลและหมู่บ้านดังนี้ หมู่ที่ ๔ (บ้านหนองสองตอน) ๑. ทางหลวงสายกาญจนบุรี-บ่อพลอย ผ่านหมู่บ้าน ระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตร ๒. ถนนลูกรังในหมู่บ้าน รวม ๘ สาย รวมความยาวประมาณ ๑๕.๔ กิโลเมตร ๓. ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก รวม ๔ สาย รวมความยาวประมาณ ๗๒๖ เมตร ๔. ถนนลาดยางในหมู่บ้าน รวม ๑๐ สาย รวมความยาวประมาณ ๔.๖๑ กิโลเมตร หมู่ที่ ๕ (บ้านหนองจอก) ๑. ทางหลวงสายกาญจนบุรี-บ่อพลอย ผ่านหมู่บ้าน ระยะทางประมาณ ๕๐๐ เมตร ๒. ถนนลูกรังในหมู่บ้าน รวม ๑๒ สาย รวมความยาวประมาณ ๓๔.๓๐ กิโลเมตร ๓. ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก รวม ๗ สาย รวมความยาวประมาณ ๘๗๐ เมตร ๔. ถนนลาดยางในหมู่บ้าน รวม ๘ สาย รวมความยาวประมาณ ๑๗.๘๑ กิโลเมตร หมู่ที่ ๖ (บ้านตรอกมะตูม) ๑. ทางหลวงสายกาญจนบุรี-บ่อพลอย ผ่านหมู่บ้าน ระยะทางประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร ๒. ถนนลูกรังในหมู่บ้าน รวม ๔ สาย รวมความยาวประมาณ ๓๕ กิโลเมตร ๓. ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก รวม ๒ สาย รวมความยาวประมาณ ๑ กิโลเมตร ๔. ถนนลาดยางในหมู่บ้าน รวม ๗ สาย รวมความยาวประมาณ ๑๘.๒ กิโลเมตร หมู่ที่ ๗ (บ้านท่าดินสอพอง) ๑. ทางหลวงสายท่าน้ำตื้น-เขาปูน ผ่านหมู่บ้าน ระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร ๒. ถนนลูกรังในหมู่บ้าน รวม ๗ สาย รวมความยาวประมาณ ๑๔.๐๑ กิโลเมตร ๓. ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก รวม ๖ สาย รวมความยาวประมาณ ๑.๖๕ เมตร ๔. ถนนลาดยางในหมู่บ้าน รวม ๕ สาย รวมความยาวประมาณ ๑๐.๕ กิโลเมตร การไฟฟ้า - หมู่ที่ ๔ มีไฟฟ้าใช้ ๕๒๘ หลังคาเรือน จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า ๑,๓๐๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๙ - หมู่ที่ ๕ มีไฟฟ้าใช้ ๓๓๕ หลังคาเรือน จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า ๑,๐๕๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๙ - หมู่ที่ ๖ มีไฟฟ้าใช้ ๔๙๘ หลังคาเรือน จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า ๑,๖๘๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๙ - หมู่ที่ ๗ มีไฟฟ้าใช้ ๔๒๐ หลังคาเรือน จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า ๑,๑๖๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๙ การสาธารณสุข - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองสองตอน มีเจ้าหน้าที่ จำนวน ๓ คน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - ฝาย จำนวน ๔ แห่ง - บ่อน้ำตื้น จำนวน ๔ บ่อ - สระน้ำ จำนวน ๒๒ บ่อ - บ่อโยก จำนวน ๖ แห่ง |