ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยน

         องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยน  ได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล    ๗  ยุทธศาสตร์  ๒๐  แนวทางการพัฒนา  ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่    ด้านการพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชน

          แนวทางการพัฒนาที่ ๑   การพัฒนาคน  ชุมชน  และสังคม  ด้านการศึกษา  สาธารณสุข 

          แนวทางการพัฒนาที่ ๒   การรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน 

ยุทธศาสตร์ที่    ด้านการพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          แนวทางการพัฒนาที่ ๑  การปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่า และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง  ป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะ น้ำเสีย มลพิษ มลภาวะ และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

          แนวทางการพัฒนาที่ ๒   การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบกำจัดขยะมูลฝอย

          แนวทางการพัฒนาที่ ๓    การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านการเกษตร

          แนวทางการพัฒนาที่ ๔    การดูแลให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม

ยุทธศาสตร์ที่    ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต  และคุณค่าทางสังคม

          แนวทางการพัฒนาที่ ๑   การให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน                                                          

          แนวทางการพัฒนาที่ ๒   การปรับปรุง พัฒนาสภาพแวดล้อม สวนสาธารณะ  สนามกีฬา  ให้เพียงพอ

          แนวทางการพัฒนาที่ ๓   การปลูกฝังจิตสำนึกให้ประชาชนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 

ยุทธศาสตร์ที่    ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพการเมือง  การบริหารการพัฒนาบุคลากร

          แนวทางการพัฒนาที่ ๑   การฝึกอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกสภา พนักงานส่วนตำบล และพนักงานจ้าง

          แนวทางการพัฒนาที่ ๒   การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร 

          แนวทางการพัฒนาที่ ๓   การเสริมสร้างความรู้และจิตสำนึกการมีส่วนร่วมของประชาชน และชุมชนในตำบล

          แนวทางการพัฒนาที่ ๔   การพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ และระบบการบริหารการจัดการ

ยุทธศาสตร์ที่    ด้านการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค  สาธารณูปการ  โครงสร้างพื้นฐาน

          แนวทางการพัฒนาที่ ๑   การจัดหาบริการพื้นฐานที่จำเป็นแก่การดำเนินชีวิต 

          แนวทางการพัฒนาที่ ๒   การปรับปรุงและซ่อมแซมสาธารณูปการโครงสร้างพื้นฐาน

ยุทธศาสตร์ที่    ด้านการพัฒนาระบบการศึกษา  และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

          แนวทางการพัฒนาที่ ๑   การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน                               

          แนวทางการพัฒนาที่ ๒   ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น   รวมทั้งส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ที่    ด้านการพัฒนาระบบการบริหารและการจัดการด้านเศรษฐกิจ

          แนวทางการพัฒนาที่ ๑   การพัฒนาฝีมือในการประกอบอาชีพของประชาชน 

          แนวทางการพัฒนาที่ ๒   การสนับสนุนให้ชุมชนร่วมคิด ร่วมทำ ใช้หลักการมีส่วนร่วมและพึ่งพาตนเอง      

          แนวทางการพัฒนาที่ ๓   การสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของท้องถิ่น