แผนการขับเคลื่อนหน่วยงาน

แผนการขับเคลื่อนหน่วยงาน

 

วิสัยทัศน์
  “ ตำบลน่าอยู่  มุ่งสู่เทคโนโลยี   การศึกษาดี   มีคุณธรรม  นำพัฒนาอย่างยั่งยืน ”

 

พันธกิจ

๑. จัดบริการขั้นพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค  สาธารณูปการ  อย่างเพียงพอและทั่วถึงโดยควบคุมให้สอดคล้องกับระบบผังเมืองรวมและมีความพร้อมในการรองรับการขยายตัวของชุมชน

 

๒. พัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยนให้เป็นเมืองน่าอยู่  มีสภาพภูมิทัศน์สวยงาม  มีความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย  ปราศจากมลภาวะ

 

๓.องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยน  มีระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ  โปร่งใส  มีขีดความ สามารถในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนได้ตรงความต้องการของประชาชน  โดยเสริมสร้างเครือ ข่ายการประสานงานทั้งภาครัฐและเอกชน  รวมทั้งแสวงหาแหล่งรายได้ใหม่ เพื่อนำมาพัฒนาท้องถิ่น 

 

๔. ประชาชนได้รับการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างมีคุณภาพและมีมาตรฐาน เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา ท้องถิ่นและการเรียนรู้  คิดเป็น  ทำเป็น  แก้ปัญหาเป็น  สามารถปรับตัวสภาพการที่เปลี่ยนแปลงไปและดำรงตนในสังคมได้อย่างทั่วถึง

 

๕. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีอาชีพ  รายได้  มีความมั่นคงทางสังคม  มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  มีสุขอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดี  ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บและยาเสพติด  ผู้สูงอายุ 

ผู้ด้อยโอกาสได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างทั่วถึง

 

๖. พัฒนาชุมชนภายในองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยนให้เป็นชุมชนเข้มแข็ง มีจิตสำนึกมีศักยภาพในการร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมรับผิดชอบ  สามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ

 

๗. ประชาชน  เจ้าหน้าที่ของรัฐ  นักการเมือง  ผู้นำท้องถิ่น  ตระหนักถึงภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในการปกครองระบอบประชาธิปไตย  มีคุณภาพ  คุณธรรม  โปร่งใส  และยุติธรรม  ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งทุกระดับ

 

๘. ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งด้านประวัติศาสตร์  วัฒนธรรม  ประเพณี  พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติให้เป็นแหล่งเศรษฐกิจของท้องถิ่น

 

๙. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเสี้ยน  โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีความตระหนักและมีจิตสำนึกที่ดีในการป้องกันและรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สวยงามยั่งยืน

 

 

 

 

ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่  ๑  ด้านการพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชน

          แนวทางการพัฒนาที่ ๑   การพัฒนาคน  ชุมชน  และสังคม  ด้านการศึกษา  สาธารณสุข 

          แนวทางการพัฒนาที่ ๒   การรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน 

 

ยุทธศาสตร์ที่  ๒  ด้านการพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          แนวทางการพัฒนาที่ ๑  การปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่า และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะ น้ำเสีย มลพิษ มลภาวะ และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

          แนวทางการพัฒนาที่ ๒  การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบกำจัดขยะมูลฝอย

          แนวทางการพัฒนาที่ ๓   การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านการเกษตร

          แนวทางการพัฒนาที่ ๔   การดูแลให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม

 

ยุทธศาสตร์ที่  ๓  ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต  และคุณค่าทางสังคม

          แนวทางการพัฒนาที่ ๑   การให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน                                               

          แนวทางการพัฒนาที่ ๒   การปรับปรุง พัฒนาสภาพแวดล้อม สวนสาธารณะ  สนามกีฬา ให้เพียงพอ

          แนวทางการพัฒนาที่ ๓   การปลูกฝังจิตสำนึกให้ประชาชนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 

 

ยุทธศาสตร์ที่  ๔  ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพการเมือง  การบริหารการพัฒนาบุคลากร

          แนวทางการพัฒนาที่ ๑   การฝึกอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกสภา พนักงานส่วนตำบล และพนักงานจ้าง

          แนวทางการพัฒนาที่ ๒   การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร 

          แนวทางการพัฒนาที่ ๓   การเสริมสร้างความรู้และจิตสำนึกการมีส่วนร่วมของประชาชน และชุมชนในตำบล

          แนวทางการพัฒนาที่ ๔   การพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ และระบบการบริหารการจัดการ

 

ยุทธศาสตร์ที่  ๕  ด้านการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค  สาธารณูปการ  โครงสร้างพื้นฐาน

          แนวทางการพัฒนาที่ ๑   การจัดหาบริการพื้นฐานที่จำเป็นแก่การดำเนินชีวิต 

          แนวทางการพัฒนาที่ ๒   การปรับปรุงและซ่อมแซมสาธารณูปการโครงสร้างพื้นฐาน

 

ยุทธศาสตร์ที่  ๖  ด้านการพัฒนาระบบการศึกษา  และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

          แนวทางการพัฒนาที่ ๑   การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน                 

          แนวทางการพัฒนาที่ ๒   ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น  รวมทั้งส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

ยุทธศาสตร์ที่  ๗  ด้านการพัฒนาระบบการบริหารและการจัดการด้านเศรษฐกิจ

          แนวทางการพัฒนาที่ ๑   การพัฒนาฝีมือในการประกอบอาชีพของประชาชน 

          แนวทางการพัฒนาที่ ๒   การสนับสนุนให้ชุมชนร่วมคิด ร่วมทำ ใช้หลักการมีส่วนร่วมและพึ่งพาตนเอง      

          แนวทางการพัฒนาที่ ๓   การสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของท้องถิ่น 
         

เป้าประสงค์/จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา

         1. ประชาชนในเขต อบต. มีแหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภคเพิ่มมากขึ้น

          2. พื้นที่ในเขต อบต. มีโครงสร้างพื้นฐานที่มีมาตรฐานให้ประชาชนได้ใช้บริการ

          3. จำนวนประชาชนในเขต อบต. มีความรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว  ศาสนา  ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและกีฬาเพิ่มขึ้น

          4. จำนวนผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ด้อยโอกาสในเขต อบต. มีสิทธิลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิได้รับบริการอย่างทั่วถึงทุกคน

          5. กลุ่มส่งเสริมอาชีพเพิ่มขึ้น ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และพึ่งตนเองได้มากขึ้น

          6. ประชาชนผู้ประสบสาธารณภัยมีความพึงพอใจในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน

          7. ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ลดลง

          8. ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

          9. อบต.แก่งเสี้ยน มีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
 
ตัวชี้วัด
         1. ประชาชนในเขต อบต. มีแหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภคเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 5 ต่อปี

         2. ในเขต อบต. มีโครงสร้างพื้นฐานที่มีมาตรฐานให้ประชาชนได้ใช้บริการ ปีละ 3 โครงการ

         3. จำนวนประชาชนในเขต อบต.  มีความรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว  ศาสนา  ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและกีฬาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 ต่อปี

         4. จำนวนผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ด้อยโอกาสในเขต อบต. มีสิทธิลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิได้รับบริการอย่างทั่วถึงทุกคน ร้อยละ 100 ต่อปี

         5. กลุ่มส่งเสริมอาชีพเพิ่มขึ้น ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และพึ่งตนเองได้มากขึ้น ร้อยละ 5 ต่อปี

        6. ประชาชนผู้ประสบสาธารณภัยมีความพึงพอใจในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ร้อยละ 80 

         7. ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ลดลง ร้อยละ 5 ต่อปี

         8. ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ร้อยละ 5 ต่อปี

         9. อบต.แก่งเสี้ยน มีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ร้อยละ 60
 

 


ค่าเป้าหมาย
         1. ประชาชนในเขต อบต. มีแหล่งน้ำในการอุปโภคบริโภคเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 5 ต่อปี

         2. ในเขต อบต. มีโครงสร้างพื้นฐานที่มีมาตรฐานให้ประชาชนได้ใช้บริการ ปีละ 3 โครงการ

         3. จำนวนประชาชนในเขต อบต.  มีความรู้และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว  ศาสนา  ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและกีฬาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 ต่อปี

         4. จำนวนผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ด้อยโอกาสในเขต อบต. มีสิทธิลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิได้รับบริการอย่างทั่วถึงทุกคน ร้อยละ 100 ต่อปี

         5. กลุ่มส่งเสริมอาชีพเพิ่มขึ้น ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และพึ่งตนเองได้มากขึ้น ร้อยละ 5 ต่อปี

         6. ประชาชนผู้ประสบสาธารณภัยมีความพึงพอใจในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ร้อยละ 80  

         7. ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ลดลง ร้อยละ 5 ต่อปี

         8. ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ร้อยละ 5 ต่อปี

         9. อบต.แก่งเสี้ยน มีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ร้อยละ 60

 

กลยุทธ์
        1. สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

        2. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และทำการเกษตร

        3. พัฒนาด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

        4. ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษา สาธารณสุข และการกีฬา

        5. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส

        6. ส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน 

        7. ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มองค์กรประชาชนให้มีความเข้มแข็ง

        8. ป้องกัน บำบัด ฟื้นฟู ติดตามและช่วยเหลือเกี่ยวกับยาเสพติด

        9. สนับสนุนด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

        10. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น และสร้างเครือข่ายประชาธิปไตย

        11. พัฒนาและส่งเสริมด้านการเกษตร ด้านการท่องเที่ยว

        12. อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

         13. อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

         14. ส่งเสริมให้ประชาชนนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต

         15. พัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง 

         16. ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ของ อบต.  ภายใต้หลัก

ธรรมาภิบาล 

 

จุดยืนทางยุทธศาสตร์


          ๑)  พัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความปลอดภัย โดยได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐาน              ที่จำเป็นเพื่อความสะดวก รวดเร็ว และรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ

          ๒)  พัฒนาระบบการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมสำคัญทางศาสนา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป

          ๓)  ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          ๔)  กำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลและมลภาวะสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างมีระบบและมีความยั่งยืน

          ๕)  อบต. มีการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูล!!